ในปี พ.ศ. 2447
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชวินิจฉัยให้อุดหนุนการทำไหมและทอผ้าของประเทศ]
ทรงได้ว่าจ้าง ดร.คาเมทาโร่ โทยาม่า[จากมหาวิทยาลัยโตเกียว ทดลองเลี้ยงไหมตามแบบฉบับของญี่ปุ่น
รวมทั้งสอนและฝึกอบรมนักเรียนไทยในวิชาการเลี้ยงและการทำไหม
โดยมีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม
พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ซึ่งดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมช่างไหม กระทรวงเกษตราธิการในขณะนั้น
ทรงจัดตั้งโรงเรียนช่างไหม ]ขึ้นเมื่อวันที่
16 มกราคม พ.ศ. 2447ณ
ท้องที่ตำบล ทุ่งศาลาแดง กรุงเทพมหานคร
ซึ่งนับว่าเป็นสถาบันการศึกษาอันเกี่ยวกับการเกษตรแห่งแรก
จากนั้นได้เปลี่ยนชื่อจากโรงเรียนช่างไหมเป็น โรงเรียนวิชาการเพาะปลูก ในปี พ.ศ. 2449
เนื่องจากมีวิชาการเพาะปลูกพืชอื่น ๆ เข้ามาประกอบ
ต่อมา โรงเรียนเกษตราธิการ ได้ถือกำเนิดขึ้น
ในปี 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2451 ณ
วังประทุมวัน[โดยที่กระทรวงเกษตราธิการได้ทำการรวบรวมโรงเรียนที่อยู่ในสังกัดของกระทรวง
3 โรงเรียน คือ โรงเรียนแผนที่
(จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2425) โรงเรียนกรมคลอง (จัดตั้งขึ้นเมื่อ
พ.ศ. 2448) และโรงเรียนวิชาการเพาะปลูก
เป็นโรงเรียนเดียวกันเพื่อผลิตคนเข้ารับราชการในกรมกองต่าง ๆ
ของกระทรวงเกษตราธิการ ถือได้ว่าเป็นหลักสูตรระดับอุดมศึกษาวิชาเกษตรศาสตร์ หลักสูตรแรกของประเทศไทย
โดยได้เริ่มดำเนินการสอนหลักสูตรใหม่นี้ในปี พ.ศ. 2452
ด้วยเหตุที่วัตถุประสงค์ของโรงเรียนกระทรวงเกษตราธิการตรงกับพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ในเรื่องของการจัดตั้งโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งได้ทรงจัดตั้งขึ้นในกระทรวงธรรมการ
โรงเรียนกระทรวงเกษตราธิการจากเดิมที่สังกัดกระทรวงเกษตราธิการจึงย้ายมาสังกัดกระทรวงธรรมการ
ในปี พ.ศ. 2456 โดยใช้
วังวินด์เซอร์เป็นสถานที่ทำการเรียนการสอนของโรงเรียนกระทรวงเกษตราธิการที่ยุบเข้ารวมกับโรงเรียนข้าราชการพลเรือน
(จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปัจจุบัน)
และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระองค์ทรงส่งนักเรียนไทยไปเรียนต่างประเทศจำนวนมาก
ในจำนวนนี้มีพระยาเทพศาสตร์สถิตย์และเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ
อยุธยา) เสนาบดีกระทรวงธรรมการ ทั้ง 2
ท่านได้เริ่มก่อตั้งโรงเรียนด้านการเกษตรโดยสังกัดกระทรวงเกษตราธิการขึ้นมาอีกครั้ง
ในนาม "โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรม" ตั้งอยู่ที่ ตำบลหอวังในปี พ.ศ. 2460
ภายหลังจึงได้มีการย้ายการเรียนการสอนไปที่ ตำบลพระประโทน อำเภอเมือง
จังหวัดนครปฐม ในปี พ.ศ. 2461
ในปี พ.ศ. 2474
หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร และเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี ได้ร่วมกันขยายการจัดตั้ง
โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรม ไปสู่ระดับภูมิภาคมากขึ้น
โดยภาคกลางตั้งอยู่ที่จังหวัดสระบุรี ภาคเหนือตั้งอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่
ภาคอีสานตั้งอยู่ที่จังหวัดนครราชสีมา และภาคใต้ตั้งอยู่ที่จังหวัดสงขลา
พ.ศ. 2478
โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมในภูมิภาคต่าง ๆ
ได้ปิดตัวลงตามข้อบังคับของการปรับเปลี่ยนระบบราชการในขณะนั้น
จึงได้มีการยุบรวมโรงเรียนในส่วนภูมิภาคทั้งหมดเข้าไว้ด้วยกัน หลวงอิงคศรีกสิการ
หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ และพระช่วงเกษตรศิลปการ
เป็นสามบูรพาจารย์ผู้ให้กำเนิดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์] จึงเสนอให้รักษาโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรม
(ปัจจุบันมหาวิทยาลัยแม่โจ้) ไว้ที่อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่เพียงแห่งเดียว
และเปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น "โรงเรียนมัธยมวิสามัญเกษตรกรรม" ต่อมาจึงได้มีการยกฐานะของโรงเรียนจนก่อตั้งเป็น
"วิทยาลัยเกษตรศาสตร์"
มีฐานะเป็นกองวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในกรมเกษตรและประมง
ตามความต้องการของกระทรวงเกษตราธิการ
ต่อมากระทรวงเกษตราธิการได้จัดตั้งสถานีเกษตรกลางขึ้นในท้องที่
อำเภอบางเขน จังหวัดพระนคร (กรุงเทพมหานคร) ดังนั้น
จึงได้ย้ายวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มาตั้งอยู่ที่อำเภอบางเขนในปี พ.ศ. 2481
และให้ส่วนราชการที่อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เป็น
"โรงเรียนเตรียมเกษตรศาสตร์"
เพื่อเป็นการเตรียมนิสิตให้วิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่ อำเภอบางเขนต่อไป
ในปี พ.ศ. 2486
วิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น "มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์"
ในรัฐบาลสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม มีฐานะเป็นกรมในสังกัดกระทรวงเกษตราธิการ]
และให้แต่งตั้งข้าราชการประจำ ดำรงตำแหน่งเลขาธิการมหาวิทยาลัย
หลวงสินธุสงครามชัย ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ เป็นผู้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีคนแรก
มีการเปิดสอนใน 4 คณะคือ โดยมี คณะกสิกรรมและสัตวบาล
คณะการประมง คณะวนศาสตร์ และคณะสหกรณ์ เป็นคณะแรกตั้ง (ในปัจจุบันคือ คณะเกษตร คณะประมง
คณะวนศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์] และ คณะบริหารธุรกิจ
ในปี พ.ศ. 2509
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยหม่อมหลวงชูชาติ
กำภูอธิการบดีในขณะนั้นได้พิจารณาเห็นว่าพื้นที่ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่บางเขนคับแคบ
ไม่สามารถจะขยายงานด้านการศึกษาทางเกษตรให้กว้างขวางเพื่อรับกับภาวะการขยายตัวทางเศรษฐกิจและสังคมของชาติในอนาคตได้
จึงได้ดำริที่จะหาพื้นที่ที่เหมาะสมที่อยู่ใกล้กรุงเทพฯที่มีดินดีเหมาะต่อการเกษตรและมีโครงการชลประทานผ่านเตรียมไว้แต่เนิ่นๆ
ก่อนราคาที่ดินจะมีราคาแพง ] ซึ่งต่อมาในวันที่
21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2510
รัฐบาลในสมัยจอมพลถนอม กิตติขจร
จึงได้ตราพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่จะเวนคืนในท้องที่อำเภอกำแพงแสน
จังหวัดนครปฐมเพื่อให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาตร์จัดตั้งวิทยาเขตกำแพงแสน] โดยทางมหาวิทยาลัยได้ทำการรื้อถอนสิ่งก่อสร้างที่มีอยู่เดิมและก่อสร้างอาคารเรียน
ที่พัก และอาคารสำนักงานซึ่งสามารถเสร็จสิ้นเมื่อกลางปีพ.ศ. 2521 และเริ่มจัดการเรียนการสอนครั้งแรกเมื่อวันที่12
พฤศจิกายน พ.ศ. 2522
ต่อมามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีแนวคิดที่จะขยายโอกาสทางการศึกษาตามภูมิภาคต่างๆของประเทศไทยจึงได้มีแนวคิดที่จะจัดตั้ง
วิทยาเขตศรีราชา วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติสกลนคร วิทยาเขตสุพรรณบุรี วิทยาเขตกระบี่
และวิทยาเขตลพบุรี] ซึ่งทางมหาวิทยาลัยสามารถจัดตั้งวิทยาเขตศรีราชาในวันที่16
เมษายน พ.ศ. 2542[32] และวิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติสกลนครในปีพ.ศ. 2543ส่วนวิทยาเขตสุพรรณบุรีปัจจุบันยังอยู่ในสถานะภาพของการเป็นโครงการจัดตั้งส่วนวิทยาเขตกระบี่และวิทยาเขตลพบุรีนั้นเนื่องจากมีปัญหาในด้านงบประมาณในการดำเนินงานจึงทำให้สภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีมติยกเลิกการจัดตั้งทั้ง
2 วิทยาเขต]
จนถึงปัจจุบันมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้มีการขยายการศึกษาเพิ่มขึ้นโดยการเปิดคณะและสาขาวิชาเพิ่มขึ้น
ซึ่งในปัจจุบันมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีที่เปิดทำการสอนแล้วทั้งหมด 33 คณะและมีจำนวนหลักสูตรทั้งหมด
373 หลักสูตร