มหาวิทยาลัยขอนแก่น
เป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
โดยมีอัตราการสอบแข่งขันเข้าเรียนมากที่สุดในภูมิภาค
มหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นหนึ่งในบรรดามหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศไทย และได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในเก้ามหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติจากกระทรวงศึกษาธิการในปี
พ.ศ. 2552 มหาวิทยาลัยขอนแก่น ตั้งอยู่ถนนมิตรภาพ ตำบลในเมือง
อำเภอเมืองขอนแก่น
เป็นมหาวิทยาลัยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช โปรดเกล้าฯ ให้ก่อตั้งขึ้นและสถาปนาเป็นมหาวิทยาลัย โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้การศึกษาชั้นสูงขยายออกไปถึงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งภูมิภาคที่สำคัญที่สุดส่วนหนึ่งของประเทศ ซึ่งต่อไปจะเป็นผลดีต่อการพัฒนายกฐานะความเป็นอยู่ของประชาชนในภูมิภาคนี้ พระองค์เสด็จฯมาทรงประกอบพิธีเปิดมหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2510 และได้รับการสถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2509 ซึ่งถือเป็นวันสถาปนามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่นมีอธิการบดีดำรงตำแหน่งมาแล้ว 16 คน (ดำรงตำแหน่งอธิการบดี 9 คน ผู้รักษาการแทนฯ 7 คน) อธิการบดีคนปัจจุบัน คือ รองศาสตราจารย์ ดร.กิตติชัย ไตรรัตนศิริชัย
เป็นมหาวิทยาลัยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช โปรดเกล้าฯ ให้ก่อตั้งขึ้นและสถาปนาเป็นมหาวิทยาลัย โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้การศึกษาชั้นสูงขยายออกไปถึงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งภูมิภาคที่สำคัญที่สุดส่วนหนึ่งของประเทศ ซึ่งต่อไปจะเป็นผลดีต่อการพัฒนายกฐานะความเป็นอยู่ของประชาชนในภูมิภาคนี้ พระองค์เสด็จฯมาทรงประกอบพิธีเปิดมหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2510 และได้รับการสถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2509 ซึ่งถือเป็นวันสถาปนามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่นมีอธิการบดีดำรงตำแหน่งมาแล้ว 16 คน (ดำรงตำแหน่งอธิการบดี 9 คน ผู้รักษาการแทนฯ 7 คน) อธิการบดีคนปัจจุบัน คือ รองศาสตราจารย์ ดร.กิตติชัย ไตรรัตนศิริชัย
ส่วนการจัดการเรียนการสอนนั้นครอบคลุมสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
วิทยาศาสตร์การแพทย์ การเกษตร มนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์
โดยได้รับการจัดอันดับมหาวิทยาลัยของไทย โดย สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
ให้เป็นมหาวิทยาลัยระดับดีเลิศทางด้านการเรียนการสอน และดีเยี่ยมทางด้านการวิจัย
มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้เปิดหลักสูตรรวมทั้งสิ้น 317 หลักสูตร
แบ่งได้เป็นหลักสูตรระดับปริญญาเอก 59 หลักสูตร ปริญญาโท 129 หลักสูตร ปริญญาตรี
105 หลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิต 24 หลักสูตร ในอดีต
ผู้ที่จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยขอนแก่นได้รับพระมหากรุณาธิคุณ
ให้เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรจากพระหัตถ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
แต่ในปัจจุบันพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ในการพระราชทานปริญญาบัตร
แก่บัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต แห่งมหาวิทยาลัยขอนแก่นจากทุกวิทยาเขต
ในปี พ.ศ. 2484
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล โดยรัฐบาลจอมพล ป.
พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีนโยบายและโครงการที่จะขยายการศึกษาระดับอุดมศึกษาสู่ส่วนภูมิภาค
สำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะจัดตั้งมหาวิทยาลัยที่จังหวัดอุบลราชธานี
แต่ในระหว่างนั้น ได้เกิดสงครามเอเชียบูรพา
ซึ่งรัฐบาลจำเป็นต้องตัดสินใจเข้าร่วมกับญี่ปุ่นต่อสู้กับฝ่ายสัมพันธมิตร
จึงทำให้การจัดตั้งมหาวิทยาลัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ยุติลงในปี พ.ศ. 2503
รัฐบาลซึ่งมี จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี
ได้มีการทบทวนการจัดตั้งมหาวิทยาลัยนี้อีกครั้งหนึ่ง
ต่อมาในปี พ.ศ. 2505
จึงได้มีมติให้จัดตั้งสถาบันการศึกษาชั้นสูง ด้านวิศวกรรมศาสตร์
และเกษตรศาสตร์ขึ้น ที่จังหวัดขอนแก่น เสนอชื่อสถาบันแห่งนี้ว่า
"สถาบันเทคโนโลยีขอนแก่น" และเสนอชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า "Khon
Kaen Institute of Technology" มีชื่อย่อว่า K.I.T. หลังจากนั้นได้เปลี่ยนชื่อสถาบันนี้เป็น
"มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ" มีชื่อย่อว่า "North-East
University หรือ N.E.U" เนื่องจากขณะนั้นยังไม่มีหน่วยราชการใด
ที่จะรับผิดชอบการดำเนินการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยโดยตรง
รัฐบาลจึงได้มีมติให้สภาการศึกษาแห่งชาติเป็นผู้รับผิดชอบในด้านการหาสถานที่
จัดร่างหลักสูตร ตลอดจนการติดต่อความช่วยเหลือจากต่างประเทศ ในปี พ.ศ. 2506
คณะอนุกรรมการได้ตกลงเลือกบ้านสีฐานเป็นที่ตั้งมหาวิทยาลัยในเนื้อที่ ประมาณ 5,500
ไร่ ห่างจากตัวเมืองขอนแก่น 4 กิโลเมตร เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2507
ได้มีการลงรกฐานก่อสร้างอาคาร "คณะวิทยาศาสตร์ -
อักษรศาสตร์สำนักงานจัดตั้งมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ได้รับนักศึกษาของมหาวิทยาลัยรุ่นแรก
ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2507 จำนวนทั้งสิ้น 107 คน
โดยแยกเป็นนักศึกษาเกษตรศาสตร์ 49 คน และวิศวกรรมศาสตร์ 58
คนโดยฝากเรียนที่คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์
(มหาวิทยาลัยมหิดลในปัจจุบัน)
คณะรัฐมนตรีมีมติให้เปลี่ยนชื่อ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เป็น "มหาวิทยาลัยขอนแก่น ตามชื่อเมืองที่ตั้ง
และได้โอนกิจการจากสำนักงานสภาการศึกษาแห่งชาติไปเป็นของมหาวิทยาลัยขอนแก่นในปี
พ.ศ. 2508 ปีถัดมาคือ พ.ศ. 2509
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้ตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยขอนแก่น
และประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2509 ซึ่งถือเป็น
วันสถาปนามหาวิทยาลัย
อีกทั้งยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัย
จอมพล ถนอม กิตติขจร และนายกสภามหาวิทยาลัยขอนแก่นในขณะนั้น
ได้ประชุมสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น และพิจารณาแต่งตั้งให้:
ฯพณฯ พจน์ สารสิน เป็นอธิการบดี
ศาสตรจารย์ พิมล กลกิจ เป็นรองอธิการบดี
ผู้รักษาการคณบดีคณะวิทยาศาสตร์-อักษรศาสตร์ และผู้รักษาการคณบดีเกษตรศาสตร์
ศาสตราจารย์ ดร. วิทยา เพียรวิจิตร
เป็นผู้รักษาการคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์และในปีเดียวกันนี้ ได้ย้ายนักศึกษาที่ฝากเรียนไว้ที่คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์
มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดลในปัจจุบัน)
มาศึกษาที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นในสถานที่ปัจจุบัน ต่อมาในวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ.
2510
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดมหาวิทยาลัยอย่างเป็นทางการ