มหาวิทยาลัยมหิดล
เป็นมหาวิทยาลัยที่มีประวัติยาวนานที่สุดของประเทศไทย ตั้งแต่การเป็นโรงเรียนแพทย์
ณ โรงศิริราชพยาบาล ชื่อว่า "โรงเรียนแพทยากร" ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ.
2432 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หลังจากนั้นในวันที่ 7 กุมภาพันธ์
พ.ศ. 2486 จึงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ และเมื่อวันที่ 21
กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม
"มหิดล" อันเป็นพระนามของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม
พระบรมราชชนก ใช้แทนชื่อมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์เป็นมหาวิทยาลัยมหิดล
วันพุธที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2556
ประวัติมหาวิทยาลัยศิลปากร
มหาวิทยาลัยศิลปากร (อังกฤษ: Silpakorn
University; ชื่อย่อ: มศก. - SU)เป็นมหาวิทยาลัยศิลปะแห่งแรกในประเทศไทย
มีชื่อเสียงทางด้านศิลปกรรม สถาปัตยกรรม และโบราณคดีปัจจุบัน
เปิดสอนครอบคลุมทุกสาขาวิชา ทั้งวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ มนุษยศาสตร์
สังคมศาสตร์ วิทยาศาสตร์สุขภาพ และวิทยาศาสตร์การเกษตร
ตามมาตรฐานของมหาวิทยาลัยสากลอย่างสมบูรณ์
ถือกำเนิดจากโรงเรียนปราณีตศิลปกรรม
สังกัดกรมศิลปากร ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่7
ได้พัฒนาขึ้นเป็นลำดับจนเป็นโรงเรียนศิลปากร และเมื่อวันที่12 ตุลาคมพ.ศ.
2486พระยาอนุมานราชธนร่วมกับศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี
พัฒนาหลักสูตรจนได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น มหาวิทยาลัยศิลปากร
เพื่อเป็นสถาบันอุดมศึกษาขั้นสูงทางศิลปะของชาติ โดยมีปณิธานที่จะสร้างสรรค์ศิลปะ
วิทยาการ และภูมิปัญญาเพื่อสังคม มีผลให้งานศิลปะของชาติพัฒนาและก้าวหน้า
มีกิจกรรมและวิชาการต่างๆ ที่ดำเนินการเอื้ออำนวยประโยชน์ให้แก่ประชาชนเสมอมา
นับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนถึงปัจจุบันพ.ศ. 2553
มหาวิทยาลัยศิลปากรมีผู้อำนวยการและอธิการบดีมาแล้ว 18 คน อธิการบดีคนปัจจุบัน คือ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยชาญ ถาวรเวช
ป้ายกำกับ:
ประวัติมหาวิทยาลัย
ประวัติมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยแห่งแรกในส่วนภูมิภาคของประเทศไทย โดยใช้ชื่อตามจังหวัดเป็นแห่งแรก
เป็นศูนย์กลางการศึกษาของภาคเหนือ ตั้งอยู่ที่ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่
จังหวัดเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกที่ทางราชการจัดตั้งขึ้นในส่วนภูมิภาคของประเทศไทย
ตามโครงการพัฒนาการศึกษาในส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2501
เป็นมหาวิทยาลัยที่ตั้งอยู่ในพื้นที่อันเป็นแหล่งสะสมวัฒนธรรมอันล้ำค่ามานานกว่า
700 ปี มีสภาพภูมิประเทศงดงามท่ามกลางสภาพแวดล้อมอันเป็นธรรมชาติ
บริเวณเชิงดอยสุเทพ ต.สุเทพ อ.เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่
ป้ายกำกับ:
ประวัติมหาวิทยาลัย
ประว้ติมหาวิทยาลัยขอนแก่น
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
เป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
โดยมีอัตราการสอบแข่งขันเข้าเรียนมากที่สุดในภูมิภาค
มหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นหนึ่งในบรรดามหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศไทย และได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในเก้ามหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติจากกระทรวงศึกษาธิการในปี
พ.ศ. 2552 มหาวิทยาลัยขอนแก่น ตั้งอยู่ถนนมิตรภาพ ตำบลในเมือง
อำเภอเมืองขอนแก่น
ป้ายกำกับ:
ประวัติมหาวิทยาลัย
ประวัติมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกในภาคใต้ของประเทศไทย ตาม
พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พ.ศ. ๒๕๑๑ ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2510 ต่อมา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานชื่อเมื่อวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2510
จึงถือว่าวันที่ 22 กันยายนของทุกปี เป็นวันสงขลานครินทร์
ในระยะแรกของการก่อตั้ง
ได้รับนักศึกษาเข้าศึกษาครั้งแรกในคณะวิศวกรรมศาสตร์
โดยใช้อาคารเรียนของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์
(ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยมหิดล) เป็นสถานที่ศึกษา และปีต่อมา พ.ศ. 2511
ก็เริ่มย้ายนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์มาเรียนที่จังหวัดปัตตานี ในปี พ.ศ. 2514
ย้ายนักศึกษาของคณะวิศวกรรมศาสตร์มาเรียนที่ วิทยาเขตหาดใหญ่
ซึ่งปัจจุบันเป็นวิทยาเขตที่ใหญ่ที่สุด พ.ศ. 2520 เปิดวิทยาเขตภูเก็ต พ.ศ. 2533
เปิดวิทยาเขตสุราษฎร์ธานี และ พ.ศ. 2534 เปิดวิทยาเขตตรัง
ป้ายกำกับ:
ประวัติมหาวิทยาลัย
อุดมศึกษา
อุดมศึกษา
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อุดมศึกษา หมายถึง
การศึกษาที่สูงขึ้นจากระดับมัธยมศึกษา คำว่า อุดมศึกษา
มีรากศัพท์มาจากศัพท์ภาษาบาลี "อุตม" หมายถึง สูงสุด
และศัพท์ภาษาสันสกฤต ศิกฺษา หมายถึง การเล่าเรียน ดังนั้น คำว่า
"อุดมศึกษา" จึงหมายถึง การเรียนขั้นสูงสุด
ประวัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ถือกำเนิดขึ้นจากการจัดตั้งโรงเรียนกฎหมาย] เมื่อวันที่
26 มกราคม พ.ศ. 2440
โดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์
เสนาบดีกระทรวงยุติธรรม แต่ครั้งมีพระยศที่พระเจ้าลูกยาเธอ
พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ฯ เพื่อให้การศึกษาอบรมด้านนิติศาสตร์โดยเฉพาะซึ่งไม่เคยมีมาก่อนหน้านี้[ต้องการอ้างอิง]
อย่างไรก็ดี
แม้ครั้งนั้นมีสถานะเป็นแต่โรงเรียนอันมิใช่ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ
ก็ได้มีแจ้งความของโรงเรียนเกี่ยวกับกำหนดการสอบไล่ของนักเรียนกฎหมายลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาอันเป็นหนังสือพิมพ์ข่าวราชการด้วย[ต้องการอ้างอิง]
สำหรับที่ตั้งของโรงเรียนกฎหมายนั้นได้แก่ห้องเสวยของเสนาบดีกระทรวงยุติธรรมซึ่งอยู่ถัดจากห้องทรงงาน[ต้องการอ้างอิง]
โดยเสนาบดีกระทรวงยุติธรรมทรงให้การศึกษาด้วยพระองค์เองเมื่อทรงเสร็จสิ้นการเสวยพระกระยาหารกลางวันแล้ว
ครั้นมีนักเรียนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ
จึงมีการย้ายไปทำการเรียนการสอนยังตึกสัสดีหลังกลาง กระทรวงยุติธรรม
ป้ายกำกับ:
ประวัติมหาวิทยาลัย
ประวัติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ในปี พ.ศ. 2447
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชวินิจฉัยให้อุดหนุนการทำไหมและทอผ้าของประเทศ]
ทรงได้ว่าจ้าง ดร.คาเมทาโร่ โทยาม่า[จากมหาวิทยาลัยโตเกียว ทดลองเลี้ยงไหมตามแบบฉบับของญี่ปุ่น
รวมทั้งสอนและฝึกอบรมนักเรียนไทยในวิชาการเลี้ยงและการทำไหม
โดยมีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม
พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ซึ่งดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมช่างไหม กระทรวงเกษตราธิการในขณะนั้น
ทรงจัดตั้งโรงเรียนช่างไหม ]ขึ้นเมื่อวันที่
16 มกราคม พ.ศ. 2447ณ
ท้องที่ตำบล ทุ่งศาลาแดง กรุงเทพมหานคร
ซึ่งนับว่าเป็นสถาบันการศึกษาอันเกี่ยวกับการเกษตรแห่งแรก
จากนั้นได้เปลี่ยนชื่อจากโรงเรียนช่างไหมเป็น โรงเรียนวิชาการเพาะปลูก ในปี พ.ศ. 2449
เนื่องจากมีวิชาการเพาะปลูกพืชอื่น ๆ เข้ามาประกอบ
ป้ายกำกับ:
ประวัติมหาวิทยาลัย
นิสิต นักศึกษา
นักเรียน ผู้เรียน นิสิต หรือ นักศึกษา
ในความหมายโดยรวมคือผู้ที่เข้าเรียนในสถานศึกษา โดยแบ่งเป็น
นักเรียน หมายถึง
ผู้เรียนในโรงเรียนระดับอนุบาล ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา
(บางครั้งอาจใช้ในความหมายกว้าง หมายถึง ผู้ศึกษาในสถานศึกษาทั้งหมดก็ได้)
นิสิต และ นักศึกษา หมายถึง
ผู้เรียนในระดับอุดมศึกษา
(นิสิตเป็นคำที่ใช้เฉพาะในสถาบันอุดมศึกษาบางแห่งเท่านั้น)
ผู้เรียน (อังกฤษ: learner) เป็นคำที่มีความหมายกว้างรวม
นักเรียน นิสิต นักศึกษา และผู้รับการศึกษาอบรมนอกระบบสถานศึกษาตามปกติ
มักใช้ในบริบทของการเรียนรู้
ในประเทศไทยมีกฎหมายให้บุคคลทุกคนต้องจบการศึกษาขั้นต่ำในระดับมัธยมศึกษาปีที่
3 (หลักสูตรการศึกษาภาคบังคับ)
ประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ถือกำเนิดจาก “โรงเรียนสำหรับฝึกหัดวิชาข้าราชการฝ่ายพลเรือน”
ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2442 ณ ตึกยาว ข้างประตูพิมานชัยศรี ในพระบรมมหาราชวัง ด้วยมีพระราชปรารภที่จะทรงจัดการปกครองพระราชอาณาจักรให้ทันกาลสมัย
จึงจัดตั้งโรงเรียนเพื่อฝึกหัดนักเรียนสำหรับรับราชการปกครองขึ้นในกระทรวงมหาดไทย
ซึ่งนักเรียนที่จบการศึกษาจากโรงเรียนแห่งนี้ จะได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต
ให้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กรับราชการใกล้ชิดพระองค์
และด้วยประเพณีโบราณที่ข้าราชการจะถวายตัวเข้าศึกษางานในกรมมหาดเล็ก
ก่อนที่จะออกไปรับตำแหน่งในกรมอื่น ๆ ดังนั้น พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้เปลี่ยนนามโรงเรียนเป็น “โรงเรียนมหาดเล็ก” เมื่อวันที่
1 เมษายน พ.ศ. 2445
ป้ายกำกับ:
ประวัติมหาวิทยาลัย
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)